หน้าแรก >> เทคโนโลยีเพื่อรักษาผู้ป่วย

เทคโนโลยีเพื่อรักษาผู้ป่วย

เทคโนโลยีเพื่อการรักษาผู้ป่วย

              
 
  • เวชระเบียนผู้ป่วยนอก เป็น ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Record) เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2545 และปรับ version ใหม่ปี พ.ศ. 2554 ช่วยลดการใช้และภาระงานในจัดเก็บและค้นหาเอกสาร สามารถค้นหาประวัติได้จากทุกจุดบริการ ลดความคลาดเคลื่อนการอ่านลายมือแพทย์ สามารถกำหนดผู้ใช้งานเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มความปลอดภัยและรักษาความลับข้อมูลผู้ป่วย

    

 

 

 
  • ระบบเอกซ์เรย์ดิจิตอล (Picture Archiving and Communication System) เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2553 ช่วยลดการใช้และภาระงานในจัดเก็บและค้นหาฟิลม์ สามารถดูภาพเอกซเรย์ได้ทุกจุดบริการเช่น ห้องฉุกเฉิน ห้องตรวจผู้ป่วยนอกทุกห้อง หอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยใน ห้องผ่าตัด เป็นต้น สามารถส่งฟิล์มทาง Internet ให้รังสีแพทย์ แพทย์ทางกระดูกและข้อ ประเมินเบื้องต้นช่วยในวางแผนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
 
 
  • เครื่องมือแพทย์
      • การวัดสัญญาณชีพ (Vital signs)
      • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
      • การวัด ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด(Oxygen Saturation monitor) ในห้องฉุกเฉินทุกเตียง
      • เพิ่มจำนวน Bedside monitor ในหอผู้ป่วยหนัก
      • เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร (Volume control)
      • เครื่องควบคุมอัตราการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ (Infusion pump)
      • เครื่อง การเต้นของหัวใจทารกแบบต่อเนื่อง (Continuous Electronic fetal monitor)
      • การตรวจกล่องเสียงและหลอดลมส่วนต้นด้วยกล้อง (Fiberoptic Laryngoscope)
      • กล้องส่องตรวจทางเดินอาหารทั้งส่วนบนและส่วนล่าง (Esophago-gastro-duodenoscope)
      • กล้องส่องตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscope)
      • กล้องส่องตรวจและรักษานิ่วในท่อไต ( Ureteroscope)
      • เครื่องสลายนิ่วโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy)
           
 
  • ห้องผ่าตัด
      • เครื่องมือผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Minimal Invasive Surgery) สำหรับผ่านกล้องในช่องท้องและในข้อเข่า
      • เครื่องเอกซเรย์สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดกระดูก (C- Arm Fluoroscope )