หน้าแรก >> โรคเบาหวาน

Jan
18
โรคเบาหวาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เบาหวาน

 

ความรู้ทั่วไปเรื่องเบาหวาน
          โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดปัญหากับฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกายและรับประทานยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะ จากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ ที่รักษาท่านอยู่ ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเบาหวานคืออะไร
          อาหารที่รับประทานเข้าไปส่วนใหญ่ จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด เพื่อใช้เป็นพลังงาน เซลล์ในตับอ่อนชื่อเบต้าเซลล์เป็นตัวสร้างอินซูลิน อินซูลินเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสเข้าเซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงาน โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือประสิทธิภาพของอินซูลินลดลงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้่นเป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
ฮอร์โมนอินซูลินมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
          อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญตัวหนึ่งของร่างกาย สร้างและหลั่งจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคส เข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงานในการดำเนินชีวิต ถ้าขาดอินซูลิน หรือการออกฤทธิ์ไม่ดี ร่างกายจะใช้น้ำตาลไม่ได้ จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมีอาการต่างๆของโรคเบาหวาน นอกจากมีความผิดปกติของการเผาผลาญอาหารคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีความผิดปกติอื่น เช่น มีการสลายของสารไขมันและโปรตีนร่วมด้วย
อาการของโรคเบาหวาน
          คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้า จะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด
อาการที่พบได้บ่อย
          คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก หรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า 180 มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืน น้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถ ใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีน และไขมันออกมา ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่ง แต่น้ำหนักจะลดลง เนื่องจากร่างกายนำน้ำตาล ไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมัน และโปรตีนจากกล้ามเนื้อ อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขา หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆ ทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก อาเจียน คนที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน
          ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือด แม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า 27% หรือน้ำหนักเกิน 20% ของน้ำหนักที่ควรเป็น สำหรับประเทศในเอเซีย เราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก ดังนั้นแนะนำว่า ควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวาน เมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อายุมากกว่า45ปี ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.% ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักเด็กแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม